องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี :www.klongrua.go.th

 
 
ฟาร์มลุงหยุด/ เดินตามวิถีที่บ้านคลองหัวช้าง จ.สระบุรี

Kasetbuddy ฟาร์มลุงหยุด

"ลุงหยุด" เป็นเกษตรกรผู้เพาะเห็ด ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ซึ่งฟาร์มเห็ดของลุงหยุด ยังเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องเห็ดครบวงจร บ้านคลองไทร มีเกษตรกร นักวิชาการ มาเรียนรู้เรื่องเห็ดที่ฟาร์มแห่งนี้ มาเป็นเวลานานเกือบ 10 ปี มีคนมาดูงานฟาร์มลุงหยุดมากกว่า 5,000 คน ก่อนอื่นมารู้จัก "ลุงหยุด" ว่าแกเป็นใครมาจากไหน ทำไมถึงมีระดับนักวิชาการ และคนสนใจฟาร์มเห็ดแห่งนี้ จนเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ผ่านการบอกเล่าของ "ลุงหยุด" ว่า เดิมตนเองเข้ามาทำงานขับแท็กซี่ และขับรถร่วมองค์กรรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ ร.ส.พ. ที่กรุงเทพฯ จนวันหนึ่ง คิดว่า ทำไปก็คงจะไม่มีโอกาสมีเงินแสน เงินล้านเหมือนคนอื่น ก็เลยตัดสินใจ มาหาซื้อที่ดิน ทำการเกษตร ตอนนั้นที่ดิน ราคาไร่ละ 20,000 บาท เป็นที่ น.ส.3 ตอนแรกปลูกไม้ผล และไม้ประดับขาย แต่มีคนทำกันมาก ลุงก็เลยมองหาอะไรที่คนยังไม่ค่อยทำ ซึ่งตอนนั้น ปี 2547 ทดลองศึกษาการเพาะเห็ดฟาง ลองผิดลองถูก ทำไป 8เดือน เป็นหนี้ 6-7 แสนบาท ตอนนั้น คิดว่า ถ้ายังทำต่อไปน่ากลัวจะต้องยกที่ดินแปลงนี้ให้ธนาคาร สุดท้าย "ลุงหยุด" หันมาศึกษาการเพาะก้อนเชื้อเห็ดขาย ไปพร้อมกับการเก็บดอกเห็ด ลุงใช้เวลาแค่ 3 เดือน ในการขายก้อนเพาะเชื้อเห็ด สามารถปลดหนี้หลักแสนบาท ได้ทั้งหมด และต่อมาได้ศึกษาการเพาะเห็ดสายพันธุ์อื่นๆ เพราะตอนหลังเห็ดฟาง เริ่มล้นตลาด เห็ดที่สร้างเงินให้กับลุงหยุดในเวลาต่อมา คือ เพาะเห็ดนางฟ้า (ลุงหยุดบอกว่า ลุงเป็นคนแรกที่เพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน) และมีเห็ดตัวอื่นๆ ที่ลุงศึกษา และทดลองเพาะก้อนเชื้อขาย เมื่อปี 2550 ได้แก่ เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดขอน เห็ดนางโรมฮังการี เห็ดลม และเห็ดโคนญี่ปุ่น ซึ่งจากการศึกษาอย่างจริงจัง และได้มีการถ่ายทอดให้กับคนที่สนใจไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ลุงมามองว่า ถ้ายังนั้นลุงเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ไปเลยแล้วกัน ทั้งนี้ ด้วยความที่ "ลุงหยุด" แกเป็นเกษตรกรที่ ไม่ยอมให้ตลาดมาเป็นตัวนำสินค้า ก็เลยต้องพยายามหาช่องว่างทางการตลาด และหาสินค้าเป็นที่ตลาดต้องการออกมาอยู่เรื่อย และวันนี้ ลุงหยุด ก็ยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพาะเห็ด หลินจือ และเห็ดถังเช่าสีทอง หลายคน อาจจะรู้จักเห็ดถังเช่า กันมานาน แต่ใครจะรู้ว่า วันนี้ คนไทยสามารถผลิตเห็ดถังเช่าสีทองเป็นผลสำเร็จ ในหลายจังหวัด จุดเริ่มต้น มาจากศูนย์เรียนรู้ของลุงหยุดแห่งนี้ ลุงหยุด เล่าว่า เห็ดหลินจือ และเห็ดถังเช่าสีทอง เป็นเห็ดบริโภคเพื่อสุขภาพ ไม่ได้เป็นเห็ดที่กินเป็นอาหารทั่วไป ดังนั้น กลุ่มตลาดจะแคบ มีเพียง 5-10% ที่บริโภคเห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้ ดังนั้น กลุ่มคนที่สนใจเพาะเห็ดแบบนี้ มีไม่มาก ประกอบกับต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง ปัจจุบัน ได้เปิดอบรมให้กับผู้สนใจ ไปแล้วประมาณ 1,000 ราย แต่ที่ออกไปทำจริง ประมาณ 5% โดยจะมีที่ภาคเหนือ (เชียงใหม่ และเชียงราย) ประมาณ 20 ราย ขายนักท่องเที่ยวจีน ภาคอีสาน 8-10 ราย เน้นการแปรรูป ก่อนนำออกขาย ส่วนน้อยที่ขายสด ส่งให้โรงงานที่แปรรูปอีกที่หนึ่ง และภาคใต้ ประมาณ 8-10 ราย ส่วนใหญ่นำไปแปรรูป ก่อนนำออกจำหน่าย เช่นกัน ลูกค้า จะเป็นคนจีนในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่วนตลาดถังเช่าสีทอง นั้น คนไทย ยังนิยมบริโภค ถังเช่าสีทอง และเห็ดหลินจือ เมื่อเทียบกับเห็ดชนิดอื่นๆ ถือว่าน้อยมาก เพียงแค่ 5-10% เท่านั้น  แต่ถ้าผู้ผลิตมีลู่ทางในการทำตลาด ก็ถือว่าเป็นเห็ดที่ให้ผลตอลแทนสูง  ส่วนตลาด แบ่งออกเป็นคนไทย ที่ต้องการดูแลสุขภาพ และนักท่องเที่ยวจีน สาเหตุที่คนจีน สนใจซื้อถังเช่า จากประเทศไทย ทั้งที่ ประเทศจีน ก็มีการเพาะเห็ดถังเช่า กันมาก เพราะถังเช่าที่ขายที่ประเทศจีน ส่วนใหญ่จะเป็นถังเช่าที่โดนรีดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกไปแล้ว และนำกลับมาขายโดยการย้อมสี ราคาถูกกิโลกรัมละ 1,000 บาท ดังนั้น พอมาประเทศไทย ก็เลยชอบที่จะซื้อจากบ้านเรากลับไป พอถามถึงราคา ถังเช่าสีทอง ที่ประเทศไทยราคาสูงใกล้เคียงกับประเทศจีน คืออยู่ที่กิโลกรัมละ 60,000 บาท จากฟาร์ม แต่ถ้าคนที่นำไปขายต่อ บางครั้งสูงกว่านั้นอีก ราคาประมาณ 80,000-100,000 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งก็คงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมราคาถึงสูงขนาดนี้ เพราะขั้นตอนกว่าจะเพาะเห็ดชนิดนี้ได้ ก็ไม่ใช่ง่าย เห็ดต้องอยู่ในห้องควบคุมอุณหภูมิ และห้องที่สะอาด ปราศจากเชื้อ สิ่งแปลกปลอม โดยการลงทุนทำห้องขนาด 3x5 เมตร ใช้เงินสูงถึง 2แสนบาท ถึง 5 แสนบาท ได้ผลลผิต ตั้งแต่ 1-2 กิโลกรัมต่อครั้ง การเพาะเห็ดถังเช่า เริ่มตั้งแต่การนำก้อนเชื้อ ไปเพาะในห้องควบคุมอุณหภูมิ คอยดูเรื่องแลเรื่องความสะอาด คอยเขี่ยเชื้อโรคออกถ้าพบ และเติมอาหารบ้างเล็กน้อย หลังจากนั้น ไม่ต้องทำอะไร เหมาะกับคนที่ทำเป็นอาชีพเสริม เพราะไม่ต้องดูแลตลอด ใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกงาน การเก็บผลผลิตใช้เวลา 3 เดือน ถึง 3 เดือนครึ่ง การนำไปแปรรูปทำได้หลายแบบ เช่น ทำเป็นแคปซูล ตากแห้ง ทำเป็นชาชงดื่ม หรือ นำไปทำเป็น น้ำเห็ดถังเช่า ทำสบู่ ผิวพรรณเต็งตรึง เป็นต้น "ลุงหยุด" เล่าว่า ผลผลิตถังเช่าสีทองที่จากฟาร์มแห่งนี้  จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกนำไปเพาะเชื้อเพื่อขายให้กับคนที่มาอบรม นำไปเพาะต่อ ในราคาขวดละ 200 บาท ส่วนที่ 2 นำไปแปรรูป สบู่ น้ำเห็ด และ แคปซูล ส่วน 3 นำไปขายสด แบบตากแห้ง ในราคากิโลกรัม 60,000 บาท ส่วนนี้ ใน 1 ปีจะขายได้ 2-3 กิโลกรัม โดยจะมีคนมารับไปจำหน่ายต่อให้กับลูกค้านักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และบางคนก็ซื้อเพื่อนำไปแปรรูปต่อ ส่วนผลผลิตแปรรูป จะมีคนเข้ามาซื้อ ที่หน้าฟาร์ม บางส่วนก็รับไปจำหน่ายต่อ บางคนก็ซื้อเพื่อรับประทานเอง ส่วนรายได้ของลุง นอกจากเห็ดถังเช่า ยังมีเห็ดหลินจือ ที่ขายเป็นชา แคปซูล และน้ำเห็ดหลินจือ รวมถึงก้อนเพาะเชื้อเห็ดหลินจือ ในราคาก้อนละ 10 บาท ส่วนเห็ดอื่นจะขายก้อนละ 6.50 บาท ส่วนผู้ที่สนใจอบรมการเพาะเห็ดถังเช่า คิดค่าหัวละ 5,000 บาท เปิดอีกครั้งในเดือน มีนาคม 2559 ระยะเวลาในการอบรม 2 วัน

ฟาร์มลุงหยุดม.9 ต.คลองเรือ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี

สนใจผลิตภัณฑ์ ฟาร์มลุงหยุดติดต่อได้ที่โทร. 08-7068-6953 และ 08-5235-1407

แหล่งที่มาของข้อมูล : https://mgronline.com/smes/detail/9590000017262






พรมเช็ดเท้าบ้านคลองหัวช้าง

                  พรมเช็ดเท้าบ้านคลองหัวช้าง เกิดจากการแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านคลองหัวช้าง ที่เกิดจากการไม่มีที่ทำกินเกิดจากการขายที่ดินในวิกฤตกาลต้มยำกุ้ง ในปี 2540 พรมเช็ดเท้ามีหลายรูปแบบให้เลือกสรร มีหลายขนาดหลายราคาสามารถซื้อไปเป็นของฝาก หรือของใช้ได้และการทอพรมเช็ดเท้ายังเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านคลองหัวช้าง อีกด้วย กลุ่มทอผ้าเช็ดเท้าบ้านคลองหัวช้าง  ประเภทของสินค้าคือประเภทของใช้ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม คือ พรมเช็ดเท้า,พรมเอนกประสงค์ ระยะเวลาการก่อตั้งกิจการก่อตั้งกลุ่มตั้งแต่ปี 2542 (ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 19ปี) ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม สืบเนื่องมาจากการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านที่ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เป็นหลัก ได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มอาชีพขึ้น เมื่อปี 2542 โดยร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม คือ ทอพรมเช็ดเท้า จากเศษผ้าเส้น และใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มทอผ้าเช็ดเท้าบ้านคลองหัวช้าง” ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 10 หมู่ที่ 10 มีสมาชิก จำนวน 25 คน เริ่มแรกได้ประสานงาน เพื่อขอคำแนะนำและความรู้จาก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวิหารแดง เพื่อจัดตั้งกลุ่มและจัดระเบียบข้อบังคับกลุ่ม โดยได้คัดเลือกคณะกรรมการขึ้นมา 1 คณะ เพื่อมาดำเนินการ คือ

1.จัดทำระเบียบ ข้อตกลงภายในกลุ่ม

2.ระดมทุนเริ่มต้นกู้ยืมเงินจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองหัวช้าง จำนวน 20,000 บาท และระดมทุนจากสมาชิกภายในกลุ่ม

3. จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย และบัญชีปฏิบัติงานของสมาชิก

4.จ่ายเงินตอบแทนในการปฏิบัติงานของสมาชิกทุก 1 เดือน

5.จ่ายเงินปันผลจากผลกำไรของกลุ่มให้กับสมาชิก ทุก 1 ปี

6.ประเมินผลการดำเนินงานทุก 1 ปี



สถานที่ประกอบการตั้งอยู่ที่เลขที่ 10 หมู่ที่ 10 บ้านคลองหัวช้าง ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

โทร 089-0909089 090-1182069